ข้อมูลอำเภอเก้าเลี้ยว
- Details
- Category: Sample Data-Articles
- Published on Monday, 26 January 2015 02:14
- Written by Super User
- Hits: 8042
ข้อมูลทั่วไปอำเภอเก้าเลี้ยว
คำขวัญ
เก้าคุ้งคดเคี้ยวเก้าเลี้ยวเลื่องลือ
ฝรั่งขึ้นชื่อนับถือหลวงพ่อเฮง
สีประจำอำเภอเก้าเลี้ยว
สีฟ้า/เหลือง
สภาพภูมิศาสตร์
อำเภอเก้าเลี้ยวเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำปิงไหลผ่านจากเหนือจดใต้ ระยะทาง 20 กิโลเมตร มีลำคลองหลายสายที่แยกจากแม่น้ำปิงเข้าไปในพื้นที่อำเภอ เช่น คลองกระเบื้อง คลองหาดเสลา คลองท่าขนมจีน นอกจากนั้นมีบึงขนาดใหญ่ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เช่น บึงเพรียง บึงเขาดิน ทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชต่างๆ เช่น ข้าว อ้อย มะลิ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเก้าเลี้ยวตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภออื่น ๆ ดังนี้
•ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางตาหงายและตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย
•ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชุมแสง
•ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองกระโดน ตำบลบ้านแก่ง และตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมืองนครสวรรค์
•ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางตาหงาย และตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย
ประวัติ
“เก้าเลี้ยว” เดิมมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบรรพตพิสัย เรียกว่า ตำบลเก้าเลี้ยว ขึ้นอยู่กับอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมามีประกาศจัดตั้ง กิ่งอำเภอเก้าเลี้ยว เมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2512 และยกฐานะเป็น อำเภอเก้าเลี้ยว ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2516
ตำนาน
คำว่า “เก้าเลี้ยว” นี้ สันนิษฐานว่ามีที่มาได้ 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 จากการเพี้ยนเสียง เดิมประชากรส่วนใหญ่ปลูกกล้วยไข่เป็นสินค้า มีชาวจีนซึ่งเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อกล้วยไข่ไปขาย โดยขนส่งไปทางเรือ ครั้นเมื่อถึงตลาดเก้าเลี้ยว ชาวจีนก็จะตะโกนบอกนายท้ายเรือเป็นภาษาจีนว่า “เก๋าเหลี้ยว” ซึ่งแปลว่าถึงแล้ว ก็เป็นได้
ประการที่ 2 สภาพภูมิสาสตร์ เดิมการเดินทางจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ จะต้องใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางแล่นไปตามแม่น้ำปิง เรือต้องแล่นผ่านคุ้งน้ำน้อยใหญ่ที่คดเคี้ยวเลี้ยวลดไปมานับถึงหมู่บ้านที่นับได้เก้าเลี้ยวพอดี ชาวบ้านแห่งนี้จึงขนานนามว่า “บ้านเก้าเลี้ยว”
การปกครองส่วนภูมิภาค
ปัจจุบันอำเภอเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ประมาณ 256.713 ตารางกิโลเมตร หรือ 160,446 ไร่ แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 43 หมู่บ้าน ได้แก่
1.มหาโพธิ 5 หมู่บ้าน
2.เก้าเลี้ยว 5 หมู่บ้าน
3.หนองเต่า 10 หมู่บ้าน
4.เขาดิน 11 หมู่บ้าน
5.หัวดง 12 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเก้าเลี้ยวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
•เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเก้าเลี้ยวทั้งตำบล
•องค์การบริหารส่วนตำบลมหาโพธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาโพธิทั้งตำบล
•องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเต่าทั้งตำบล
•องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินทั้งตำบล
•องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดงทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม (ทำนา ทำสวนฝรั่ง ทำไร่ มะลิ)
พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 134,020 ไร่ แบ่งเป็นทำนา 110,989 ไร่ ทำไร่ 16,088 ไร่ (อ้อย) ทำสวน 2,631 ไร่, พืชผัก 2,757 ไร่ ปลูกมะลิ 648 ไร่ พื้นที่ประมง 907 ไร่
2.อาชีพเสริม ได้แก่
1.ร้อยพวงมาลัยดอกมะลิ
2.ทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
3.ผลไม้แปรรูป
4.ทอพรมเช็ดเท้า
5.ทำน้ำยาเอนกประสงค์
3.จำนวนธนาคาร มี 2 แห่ง ได้แก่
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0 5629 9075
2.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 0 5629 9189
ประชากร
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 34,665 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 17,049 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 17,616 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 135.04 คน/ตร.กม.
การคมนาคม
อำเภอเก้าเลี้ยวอยู่ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ 20 กิโลเมตร มีการคมนาคม 2 ทาง
1.ทางบก รถยนต์
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 สายนครสวรรค์ – พิษณุโลก ผ่านตำบลมหาโพธิ ตำบลหนองเต่า และตำบลหัวดง ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1084 สายนครสวรรค์ –กำแพงเพชร ผ่านตำบลมหาโพธิ ตำบลเก้าเลี้ยว และตำบลหัวดง ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1082 สายนครสวรรค์ –บรรพตพิสัย ผ่านตำบลบ้านแก่ง ตำบลเขาดิน ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร
- ทางถนนเก้าเลี้ยว – ชุมแสง ผ่านตำบลเก้าเลี้ยว ตำบลหนองเต่า ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร
2.ทางน้ำ ท่าเรือ
การเกษตรและอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย ดอกมะลิ
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ บริษัทไทยอินเตอร์พัฒนา จำกัด หมู่ที่ 7 ตำบลหัวดง และบริษัทมาลีค้าไม้ จำกัด หมู่ที่ 4 ตำบลมหาโพธิ
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
1.น้ำฝรั่งสด หมู่ที่ 2 ตำบลเขาดิน โทร. 0 5623 4278
2.ข้าวปลอดสารพิษ 118 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวดง โทร. 089268 2496
3.ซาลาเปานมสด 282/1 หมู่ที่ 5 ตำบลเก้าเลี้ยว โทร. 0 5631 9023
4.มะขามอบแห้ง/แช่อิ่ม หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
5.มะม่วงแช่อิ่ม หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
6.กล้วยตาก หมู่ที่ 11 ตำบลหัวดง โทร. 0 5629 9174
7.ผลิตภัณฑ์จากแหวนรองนอต 252/4 หมู่ที่ 5 ตำบลเก้าเลี้ยว โทร. 0 5631 9604, 0 5052 9023
8.ดอกไม้จันทร์ หมู่ 3 ตำบลหัวดง โทร.0 5629 9410
สถานศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา
1.โรงเรียนประถมศึกษา
2.โรงเรียนชุมชนวัดมหาโพธิเหนือ
3.โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว
4.โรงเรียนบ้านแหลมยาง
5.โรงเรียนบ้านหนองหัวเรือ
6.โรงเรียนบ้านยางใหญ่
7.โรงเรียนบ้านห้วยรั้ว (เสนาณรงค์อุปถัมภ์)
8.โรงเรียนวัดหนองเต่า
9.โรงเรียนวัดหนองแพงพวย
10.โรงเรียนบ้านทุ่งตาทั่ง (ศิริราษฎร์บำรุง)
11. โรงเรียนศึกษาศาสตร์
12. โรงเรียนชุมชนวัดเขาดินเหนือ
13. โรงเรียนโอสถสภาอุปถัมภ์
14. โรงเรียนวัดมรรครังสฤษดิ์
15. โรงเรียนวัดดงเมือง
16. โรงเรียนบ้านคลองคล้า
17. โรงเรียนสังข์บุญธรรมราษฎร์นุสรณ์
18.โรงเรียนวัดหาดเสลา (ไพศาลศิริราษฎร์อุปถัมภ์)
19. โรงเรียนวัดหัวดงใต้ (บางทองประชาสรรค์)
20. โรงเรียนบ้านเนินพะยอม
โรงเรียนมัธยมศึกษา
1.โรงเรียนหัวดงราชพรหมาภรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลหัวดง
2.โรงเรียนเก้าเลี้ยววิทยา โทร. 0 5629 9192
วัดในอำเภอ
1.วัดมหาโพธิใต้ ม.3 ตำบลมหาโพธิ
2.วัดมหาโพธิเหนือ ม.5 ตำบลมหาโพธิ
3.วัดหนองหัวเรือ ม.4 ตำบลมหาโพธิ
4.วัดเก้าเลี้ยว ม.1 ตำบลเก้าเลี้ยว
5.วัดกัลยารัตน์ ม.5 ตำบลหนองเต่า
6.วัดทุ่งตาทั่ง ม.4 ตำบลหนองเต่า
7.วัดยางใหญ่ ม.3 ตำบลหนองเต่า
8.วัดลาดค้าว ม.6 ตำบลหนองเต่า
9.วัดหนองเต่าใต้ ม.9 ตำบลหนองเต่า
10.วัดหนองเต่าเหนือ ม.9 ตำบลหนองเต่า
11.วัดหนองแพงพวย ม.1 ตำบลหนองเต่า
12.วัดห้วยรั้ว ม.8 ตำบลหนองเต่า
13.วัดหัวดงเหนือ ม.11 ตำบลหัวดง
14.วัดหาดเสลา ม.5 หาดเสลา ตำบลหัวดง
15. วัดเขาดินเหนือ ม.3 ตำบลเขาดิน
16. วัดดงเมืองใต้ ม.7 ตำบลเขาดิน
17. วัดพระหน่อธรณินทร์ ม.6 ตำบลเขาดิน
18. วัดหนองงูเหลือม ม.5 ตำบลเขาดิน
19. วัดมรรครังสฤษดิ์ ม.8 ตำบลเขาดิน
20. วัดแหลมสมอ ม.9 ตำบลเขาดิน
21. วัดคลองช้าง ม.12 ตำบลหัวดง
22. วัดดงบ้านโพธิ์ ม.7 ตำบลหัวดง
23. วัดเนินพยอม ม.6 ตำบลหัวดง
24. วัดศิลาทองสามัคคี ม.8 ตำบลหัวดง
25. วัดหัวดงใต้ ม.3 ตำบลหัวดง
26วัดหัวดงเหนือ ม.11 ตำบลหัวดง
สถานที่ท่องเที่ยว
1. มณฑปรอยพระบาทจำลอง วัดพระหน่อธรณินทร์ ใกล้วารินคงคาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านเขาดิน หมู่ที่ 6 ต.เขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ กรมศิลปากรได้รับขึ้นเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 โบราณสถานแห่งนี้ คือ มณฑป ตั้งอยู่บนเขาดิน เป็นเขาที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำปิง รูปแบบการสร้างเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทจำลองสำริด ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2456 ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์ และอุทิศถวายพระราชกุศลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งได้สวรรคต ปี พ.ศ. 2453
รอยพระพุทธบาทจำลองสำริด มีความยาวประมาณ 150 เมตร กว้าง 0.50 เมตร เป็นรูปมลคล 108 ส่วนฐานของรอยพระพุทธบาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลายบัวหงายรองรับ ที่ฐานพระพุทธบาทมีอักษรที่หล่อเป็นข้อความว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2464 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6
2. วัดมหาโพธิใต้
อุโบสถวัดมหาโพธิใต้
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.มหาโพธิใต้ อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ อยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก (วัดสมัยเก่า รุ่นรัชกาลที่ 5 เจ้าอาวาสสมัยนั้น คือ หลวงพ่อเฮง) มีเนื้อที่ 15 ไร่ 80 ตารางวา อยู่ห่างจากอำเภอ 4 กิโลเมตร ตามหลักฐานวัดนี้สร้างมาประมาณ 300 ปีแล้ว คือประมาณ พ.ศ. 2209 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่มีอุโบสถเก่าแก่โดยทำการก่อสร้างตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา กว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร ก่ออิฐถือปูน ทรงโบราณฐานโค้ง ทรงแบบจีนไม่มีช่อฟ้าใบระกา หลังคา 2 ชั้น หน้าต่าง 8 ช่อง ซุ้มประตู 2 ซุ้ม หน้าบันอุโบสถ เป็นรูปปั้นเทพนมมีลายดอกไม้ล้อมรอบ
เสมาวัดมหาโพธิใต้
เป็นเสมาที่ใช้หินทั้งแผ่นแกะสลักเป็นรวดลายสวยงาม มีลักษณะเช่นเดียวกับการก่อสร้างในสมัยกรุงศณีอยุธยา มีฐานกว้าง 62 เซนติเมตร หนา 9 เซนติเมตร สูง 97 เซนติเมตร ที่ตัวเสมามีลายดอกไม้สวยงาม และตั้งอยู่รอบอุโบสถใต้
เจดีย์วัดมหาโพธิใต้
เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่มีรูปคล้ายระฆังคว่ำ รูปทรงในการก่อสร้างโดยใช้อิฐของเจดีย์เก่าที่พังทลายแล้วมาเรียงต่อกันเป็นรูปร่างเจดีย์ สิ่งที่บอกความเก่าแก่ คือ อิฐที่ใช้ก่อสร้างเป็นอิฐสมัยโบราณก้อนใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นอิฐที่ก่อสร้างในสมัยอยุธยา เจดีย์มีฐานกลมกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร